ฟลูออไรด์ในน้ำบริโภคสำหรับเด็กวัยเรียน

ฟลูออไรด์ เป็นสารประกอบที่ได้จากแร่ธาตุฟลูออรีน อาจพบมีการรวมตัวกับธาตุอื่นเป็นสารประกอบ พบได้ทั้งในน้ำ อาหาร ดินและหิน อาจจะมีปริมาณแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและภูมิศาสตร์ ฟลูออไรด์เข้าสู่ร่างกายส่วนใหญ่ได้จากน้ำบริโภค อาหาร ผลิตภัณฑ์ทางทันตกรรม ฟลูออไรด์ในน้ำจะเข้าสู่ร่างกายและมีผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์มากกว่าแหล่งอื่นๆ โดยภูมิภาคเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร เช่น ประเทศไทย ประชาชนจะบริโภคน้ำในปริมาณสูงกว่าภูมิภาคในเขตหนาว เมื่อฟลูออไรด์เข้าสู่ร่างกายมนุษย์จะถูกดูดซึมเข้าระบบทางเดินอาหารเกือบหมด ประมาณร้อยละ ๕๐ จะมีการขับถ่ายที่ไต ส่วนที่เหลือจะเก็บไว้ที่กระดูกและฟัน มาตรฐานของน้ำบริโภคองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดให้มี ฟลูออไรด์ในน้ำบริโภค ไม่เกิน ๑.๕ มิลลิกรัมต่อลิตร (ppm) และ (WHO) ได้เสนอแนวคิดไว้ว่า การกำหนดมาตรฐานฟลูออไรด์ในน้ำบริโภคของแต่ละประเทศควรศึกษาปริมาณการบริโภคน้ำของประชากร ซึ่งมีความแตกต่างตามอุณหภูมิของภูมิภาค(๑) ในประเทศไทยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้ค่ามาตรฐานตามเกณฑ์คุณภาพน้ำประปาดื่มได้มีปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำบริโภคไม่เกิน ๐.๗ มิลลิกรัมต่อลิตร (ppm)(๓) ผลกระทบของฟลูออไรด์หากเข้าสู่ร่างกายในปริมาณสูงและมากเกินไป จะทำให้ฟันตกกระโดยเฉพาะในวัยเด็ก รวมทั้งอาจสร้างผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายทางด้านอื่นๆ เช่น กระดูกโก่งงอ ฟลูออไรด์เป็นพิษที่กระดูก เป็นต้น(๑)


เรื่องที่เกี่ยวข้อง: อนามัยวัยเรียน

คำค้น: "ฟลูออไรด์" "น้ำบริโภค" "วัยเรียน"

เข้าชม: 716 ครั้ง

ผู้จัดทำ: นายมนตรี อาจสมิติ

ผู้เผยแพร่: นายมนตรี อาจสมิติ

QR Code

เกี่ยวกับเรา

ติดต่อเรา

ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี
เลขที่ 1 หมู่ 11 ตำบลบ้านหมอ อำเภอบ้านหมอ
จังหวัดสระบุรี 18130

โทร. 036-200334 - 6