ติดเกมปัญหาวัยเรียนวัยรุ่น

คนที่เสพติดเกมมักเป็นกลุ่มเด็กและเยาวชน ไม่ว่าจะเป็นเด็กชั้นประถม มัธยม ไปจนถึงนักศึกษา แม้แต่ผู้ใหญ่เองก็สามารถเป็นโรคเสพติดเกมได้เช่นกัน ในปัจจุบันการเสพติดเกมจัดเป็นโรคอย่างหนึ่ง ผลเสีย ที่ตามมาจากการเสพติดเกมเกิดทั้งกับตัวเด็ก ครอบครัว ไปจนถึงสังคมส่วนรวม ดังนั้นการให้สังคมมีความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคนี้จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อที่คนในสังคมจะได้ให้ความช่วยเหลือเด็กตั้งแต่แรกเริ่ม ทั้งการป้องกัน รักษา และฟื้นฟู(2) ความแตกต่างระหว่างการเล่นเกมทั่วไปกับการติดเกม ผู้ที่เล่นเกมทั่วไป สามารถควบคุมตัวเองได้ รู้จักแบ่งเวลาในการเล่นเกมได้อย่างเหมาะสม การเล่นเกมไม่รบกวนหรือส่งผลกระทบต่อกิจกรรมประจำวัน(๑) ส่วนการเสพติดเกมต้องมีลักษณะดังนี้คือเล่นมากจนเกินไป เล่นโดย ไม่รู้จักเวลา เพลิดเพลิน ติดลม บางคนเล่นจนไม่กิน ไม่นอน ไม่ทำกิจกรรมอย่างอื่น ทำให้เสียการเรียน เสียสัมพันธภาพกับคนรอบตัว หรือมีผลเสียต่อการใช้ชีวิตด้านอื่นๆ และมีอาการเมื่อไม่ได้เล่น เช่น หงุดหงิด อาละวาด ทำลายข้าวของ เครียด ซึมเศร้า มีความต้องการที่จะเล่นเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งจำนวนเวลาที่ใช้เล่น ความทันสมัยของอุปกรณ์ ไอเทม และองค์ประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับเกม มีพฤติกรรมไม่ดีที่ตามมาเพื่อให้ได้เล่นเกม เช่น ขโมยเงิน โกหก ทะเลาะกับคนรอบข้าง การดูแลเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นเพื่อป้องกันปัญหาเด็กติดเกม คือผู้ปกครองต้องพยายามฝึกให้เด็กสามารถควบคุมตัวเองได้ เช่น การตั้งกฎกติกาในเรื่องของระยะเวลาการเล่นเกมของเด็ก กฎกติกาเรื่องของหน้าที่ความรับผิดชอบที่ต้องมาก่อน รวมถึงไม่ควรให้เด็กมีเครื่องเล่นเกมหรือคอมพิวเตอร์ ในห้องนอนส่วนตัวของตนเอง เป็นต้น ผู้ปกครองควรดูแลเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ


เรื่องที่เกี่ยวข้อง: อนามัยวัยรุ่น อนามัยวัยเรียน

คำค้น: "ติดเกม" "วัยเรียน" "วัยรุ่น"

เข้าชม: 1,522 ครั้ง

ผู้จัดทำ: นางสาวพัทธนันท์ ปินตาดวง

ผู้เผยแพร่: นางสาวพัทธนันท์ ปินตาดวง

QR Code

เกี่ยวกับเรา

ติดต่อเรา

ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี
เลขที่ 1 หมู่ 11 ตำบลบ้านหมอ อำเภอบ้านหมอ
จังหวัดสระบุรี 18130

โทร. 036-200334 - 6