ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้ผู้สูงอายุแบบยั่งยืนเขตสุขภาพที่ 4โดยใช้การมีส่วนร่วม

พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้ผู้สูงอายุแบบยั่งยืน เขตสุขภาพที่ 4 โดยใช้การมีส่วนร่วมขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการฯโดยใช้การมีส่วนร่วมการศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีดำเนินการ 3 ระยะ ได้แก่1) ขั้นเตรียมการ 2) ขั้นดำเนินการพัฒนารูปแบบ นำไปใช้และปรับปรุง3) ขั้นประเมินผล โดยกลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงซึ่งเป็นเครือข่ายการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเขตสุขภาพที่ 4 ทั้ง 8 จังหวัดจำนวน 24 แห่งเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มการสังเกตจดบันทึกภาคสนาม และรูปแบบฯที่พัฒนาขึ้นเก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม 2560-กันยายน 2561วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า สถานการณ์ปัญหาการบริหารจัดการการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนก่อนการดำเนินการขาดการบูรณาการ ขาดการมีส่วนร่วมของชุมชน คนในชุมชนขาดองค์ความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพ ไม่มีรูปแบบการบริหารจัดการในชุมชนส่งผลให้การดำเนินการขาดความต่อเนื่องและไม่เกิดความยั่งยืน หลังจากได้พัฒนารูปแบบโดยใช้การมีส่วนร่วมของชุมชนซึ่งมีการบูรณาการ ได้แก่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครสาธารณสุขประหมู่บ้าน ชมรมผู้สูงอายุ วัดหรือศาสนสถานและนำไปใช้ในชุมชนต้นแบบ พบว่าชุมชนเกิดการมีส่วนร่วมร้อยละ 92.42 ได้รับความรู้ร้อยละ 90.95 ความพึงพอใจสูงขึ้นจากร้อยละ 51.98 เป็นร้อยละ 90.31 เกิดประโยชน์ต่อชุมชน ร้อยละ 89.98 เจ้าหน้าที่สุภาพ เป็นมิตร ร้อยละ 86.86 การประชาสัมพันธ์ร้อยละ 82.17 ระยะเวลาความเหมาะสมร้อยละ 71.84 จุดเข็งของรูปแบบคือการมีส่วนร่วม การเรียนรู้ การจัดการความรู้และพัฒนาบทบาทหน้าที่ของตนเองเกิดการบูรณาการในทุกภาคส่วน ร่วมคิด ร่วมวางแผนแก้ไขปัญหาในการจัดการชุมชนก่อให้เกิดความยั่งยืน ข้อเสนอแนะควรสร้างและส่งเสริมการเรียนรู้ในชุมชนทุกระดับอย่างต่อเนื่อง ดึงศักยภาพและคุณค่าของคนในชุมชนบนพื้นฐานของต้นทุนทรัพยากรตามบริบทของชุมชนเพื่อความเข้มแข็งและยั่งยืนสืบไป


ประเทศไทยและเขตสุขภาพที่ 4 กำลังพบปัญหาสังคมผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วการให้บริการสาธารณสุขต้องเตรียมความพร้อม วางแผนเพื่อรองรับปัญหาดังกล่าว การให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพทั้งกายและจิตมีความสำคัญมากจึงได้พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้ผู้สูงอายุแบบยั่งยืน เขตสุขภาพที่ 4 โดยใช้การมีส่วนร่วมขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการฯโดยใช้การมีส่วนร่วมการศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีดำเนินการ 3 ระยะ ได้แก่1) ขั้นเตรียมการ 2) ขั้นดำเนินการพัฒนารูปแบบ นำไปใช้และปรับปรุง3) ขั้นประเมินผล โดยกลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงซึ่งเป็นเครือข่ายการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเขตสุขภาพที่ 4 ทั้ง 8 จังหวัดจำนวน 24 แห่งเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มการสังเกตจดบันทึกภาคสนาม และรูปแบบฯที่พัฒนาขึ้นเก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม 2560-กันยายน 2561วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า สถานการณ์ปัญหาการบริหารจัดการการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนก่อนการดำเนินการขาดการบูรณาการ ขาดการมีส่วนร่วมของชุมชน คนในชุมชนขาดองค์ความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพ ไม่มีรูปแบบการบริหารจัดการในชุมชนส่งผลให้การดำเนินการขาดความต่อเนื่องและไม่เกิดความยั่งยืน หลังจากได้พัฒนารูปแบบโดยใช้การมีส่วนร่วมของชุมชนซึ่งมีการบูรณาการ ได้แก่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครสาธารณสุขประหมู่บ้าน ชมรมผู้สูงอายุ วัดหรือศาสนสถานและนำไปใช้ในชุมชนต้นแบบ พบว่าชุมชนเกิดการมีส่วนร่วมร้อยละ 92.42 ได้รับความรู้ร้อยละ 90.95 ความพึงพอใจสูงขึ้นจากร้อยละ 51.98 เป็นร้อยละ 90.31 เกิดประโยชน์ต่อชุมชน ร้อยละ 89.98 เจ้าหน้าที่สุภาพ เป็นมิตร ร้อยละ 86.86 การประชาสัมพันธ์ร้อยละ 82.17 ระยะเวลาความเหมาะสมร้อยละ 71.84 จุดเข็งของรูปแบบคือการมีส่วนร่วม การเรียนรู้ การจัดการความรู้และพัฒนาบทบาทหน้าที่ของตนเองเกิดการบูรณาการในทุกภาคส่วน ร่วมคิด ร่วมวางแผนแก้ไขปัญหาในการจัดการชุมชนก่อให้เกิดความยั่งยืน ข้อเสนอแนะควรสร้างและส่งเสริมการเรียนรู้ในชุมชนทุกระดับอย่างต่อเนื่อง ดึงศักยภาพและคุณค่าของคนในชุมชนบนพื้นฐานของต้นทุนทรัพยากรตามบริบทของชุมชนเพื่อความเข้มแข็งและยั่งยืนสืบไป



เรื่องที่เกี่ยวข้อง: อนามัยผู้สูงอายุ

คำค้น: "การบริหารจัดการ" "ศูนย์เรียนรู้" "ยั่งยืน" "พัฒนารูปแบบ" "การมีส่วนร่วม"

เข้าชม: 451 ครั้ง

ผู้จัดทำ: สายฝน สายสุ่ม

ผู้เผยแพร่: นางสาวอภินทร์พร ศักดาเกรียง

QR Code

เกี่ยวกับเรา

ติดต่อเรา

ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี
เลขที่ 1 หมู่ 11 ตำบลบ้านหมอ อำเภอบ้านหมอ
จังหวัดสระบุรี 18130

โทร. 036-200334 - 6