การส่งเสริมพัฒนาการเด็กในศูนย์เด็กเล็กฯ ศอ.4 (การเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการตามวัย)

ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - พ.ศ. 2580) ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพ ทรัพยากรมนุษย์ มีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญเพื่อพัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ ทั้งกาย จิตใจ สติปัญญา มีพัฒนาการที่ดีรอบด้าน และมี สุขภาวะที่ดีในทุกช่วงวัยจะต้องเริ่มพัฒนาตั้งแต่ช่วงปฐมวัย เพื่อให้การทำหน้าที่ บริหารของสมองระดับสูง (Executive Function) ในการบริหารจัดการ และการกำกับ ควบคุม ความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมของเด็กเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายได้ ซึ่งจะเป็นรากฐานของการเป็นคนดี เก่ง และ มีคุณภาพของคนๆ หนึ่งอย่างต่อเนื่องไปตลอดชีวิต “เข็มพร วิรุณราพันธ์” ผู้จัดการสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) กล่าวถึงความสำคัญของการที่เด็กได้มีโอกาสเล่น ว่านอกจากเป็นการเสริมสร้างความสุขและพัฒนาการของเด็กแล้ว ยังมีส่วนช่วยในการเปลี่ยนโลกใบนี้ด้วย“มีงานวิจัยหลายชิ้นที่สะท้อนให้เห็นว่า ถ้าเด็กได้เล่น โลกนี้จะมีสันติภาพ เพราะเด็กเป็นคนที่จะสร้างอนาคตของชาติ ถ้าเขาได้เล่น เขาจะรู้ว่าเขาจะอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างไร เวลาที่เกิดปัญหาความขัดแย้ง เขาจะต้องทำอย่างไร จริงๆ แล้ว พ่อแม่ให้ภาพที่ผิดๆ กับลูกด้วย บางที ลูกทำผิด ก็ยังบอกว่าลูกถูก หรือพ่อแม่หลายคน ก็ยังไม่ได้บอกว่าเขาทำถูกหรือทำผิด แต่ถ้าเด็กได้เล่น การอยู่ร่วมกันกับคนอื่น ก็จะเป็นตัวสะท้อนว่า เราเล่นรุนแรงไปหรือเปล่า เราเห็นแก่ตัวไหม หรือว่าเรามีน้ำใจให้กับเพื่อนไหม คือการที่เด็กได้เล่น เขาจะเห็นตัวตนที่แท้จริงของเขา และเขาจะรู้จักวิธีอยู่ร่วมกับคนอื่น“เพราะฉะนั้น นักคิดหลายประเทศพบว่าถ้าเด็กได้เล่นมากขึ้น โลกนี้จะมีสันติภาพ แล้วก็มีงานวิจัยที่เขาไปศึกษาและพบว่า ความรุนแรง อาชญากรรม หรือปัญหาสังคมต่างๆ มันเริ่มขึ้นเพราะว่าเด็กมีโอกาสได้เล่นน้อยลง คำว่า ‘โอกาส’ มีความสำคัญมากๆ เลย เพราะตอนนี้สังคมได้พรากโอกาสในการเล่นของเด็กไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการแข่งขันที่สูง เด็กๆ ต้องเรียนหนัก ต้องไปติว พ่อแม่คาดหวังว่าลูกจะต้องเก่ง“ขณะเดียวกัน พื้นที่ต่างๆ ในหมู่บ้าน อย่างหมู่บ้านจัดสรร ก็ดูจะกลายเป็นพื้นที่ธุรกิจ พื้นที่ของผู้ใหญ่ไปหมดเลย เพราะฉะนั้น โอกาสของเด็กๆ ที่จะได้เล่น จึงน้อยลง หลายประเทศทั่วโลกจึงมีการเรียกร้องโอกาสที่จะช่วยให้เด็กสามารถเข้าถึงการเล่นอิสระด้วยตัวของเขาเอง ยิ่งไปกว่านั้น หลายประเทศยังรณรงค์ให้ผู้ใหญ่ออกมาเล่นด้วย เพราะเขาเห็นว่า การเล่นคือส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ ไม่เฉพาะเด็กๆแต่รวมถึงทุกๆวัยเพียงแต่การเล่นอาจจะมีรายละเอียดแตกต่างกันไป “พญ.พรรณพิมล วิปุลากร” อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เด็กปฐมวัยจำเป็นมากที่ได้เล่นอิสระ เพราะการเล่นจะกระตุ้นให้ใยสมองเชื่อมต่อเกิดการเรียนรู้ได้ดีในเด็ก ถ้าเด็กไม่ได้เล่นจะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการและพฤติกรรมทางลบกับเด็ก เด็กต้องการเล่นเพื่อปลดปล่อย ผ่อนคลายจากสถานการณ์ความเครียดจากความคาดหวังของสังคมปัจจุบัน การเล่นจะช่วยให้เด็กสามารถสร้างความยืนหยุ่น รู้สึกมั่นคง เรียนรู้เข้าใจตนเอง เข้าใจคนอื่น และปรับตัวเข้ากับคนอื่นได้อย่างมีความสุข เนื่องจากพ่อแม่ยุคปัจจุบัน มักจะคาดหวังสูงในตัวลูก แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งขาดหายไปนั่นก็คือ“การเล่น”“เด็กในยุคปัจจุบัน จะติดกับเครื่องมือใหม่ๆ อย่างอุปกรณ์ดิจิทัลที่ด้านหนึ่งก็มีส่วนที่ดี แต่ก็ทำให้การเล่นของเด็กๆ ขาดหายไป และส่วนหนึ่งก็อาจจะเป็นเพราะพ่อแม่เองที่คาดหวังในตัวลูก อยากจะให้ลูกเก่ง เพราะฉะนั้น ก็จะให้ลูกไปเรียนพิเศษ ต้องไปเรียนดนตรี นู่นนี่นั่น แต่สิ่งที่ขาดหายไปคือเรื่องการเล่น“ในขณะที่ปัจจุบัน อาจจะบอกว่า การเล่นคือความไร้สาระ ไม่มีประโยชน์เลย แต่ปรากฏว่า งานวิจัยใหม่ๆ รวมทั้งการศึกษาต่างๆ เขาบอกว่า การเล่นนี่แหละคือการเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กการเล่นที่ดี คือการเล่นที่ไม่มีรูปแบบเลย การเล่นที่เป็นอิสระ จะทำให้เด็กมีจินตนาการ มีความสุข และเด็กก็จะมีพัฒนาการด้านสร้างสรรค์ต่างๆ”


เรื่องที่เกี่ยวข้อง: อนามัยแม่และเด็ก

คำค้น: "พัฒนาการ"

เข้าชม: 1,162 ครั้ง

ผู้จัดทำ: นางสาวภคนันท์ ปิ่นทอง

ผู้เผยแพร่: นางสาวภคนันท์ ปิ่นทอง

QR Code

เกี่ยวกับเรา

ติดต่อเรา

ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี
เลขที่ 1 หมู่ 11 ตำบลบ้านหมอ อำเภอบ้านหมอ
จังหวัดสระบุรี 18130

โทร. 036-200334 - 6